Aug 11
Critical Thinking ทักษะที่ Elon Musk เจ้าพ่อ Tesla และ Jeff Bezos บอสใหญ่ Amazon บอกว่า “ของมันต้องมี”

In Summary
คำว่า Critical Thinking หรือ ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยมากในยุคนี้ แล้วความหมายมันคืออะไร? ทำไม อีลอน มัสก์ (Elon Musk) และ เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ถึงต้องพยายามฝึกฝนสกิลนี้อย่างหนัก? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
ทั้งอีลอนและเจฟฟ์ต่างเป็นเจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ของวงการเทคโนโลยีทั้งคู่ ถึงแม้พวกเขาจะเป็นคู่แข่งกัน แต่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีเหมือนกัน และยังเป็นคุณสมบัติที่ต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอีกด้วยนั่นก็คือ พวกเขามี ความหมกหมุ่นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาผลงานและผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาอยากพัฒนาสกิลการคิดเชิงวิพากษ์ เพราะมันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทั้งสองพัฒนาตัวเองและผลงานของตัวเองไปได้อย่างไม่สิ้นสุด
- Critical Thinking หรือการคิดเชิงวิพากษ์คือทักษะที่พูดถึงกันอย่างหนาหูในปัจจุบัน และเป็นทักษะที่ผู้มีอิทธิพล และนักธุกิจใหญ่ของโลกทั้ง อีลอน มัสก์ และ เจฟฟ์ เบซอส ต่างกำลังฝึกฝน
- การคิดเชิงวิพากษ์คือการคิดทบทวนและวิเคราะห์ถึงเรื่องราว ประเด็น และปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคิดจากพื้นฐานของความเป็นจริง และทบทวนข้อโต้แย้งหรือมุมมองที่ตรงข้ามกับแนวคิดของเราด้วย ซึ่งการคิดเช่นนี้จะช่วยให้เรามองเห็นข้อบกพร่องของตนเองและพัฒนาตนเองได้อยู่เสมอ
- ทุกคนสามารถฝึกฝนทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ได้โดยยึดตามคำแนะนำดังนี้ อย่ารีบร้อน ใช้เวลาทบทวนความเห็นด้านลบ ให้เวลากับความคิด มองการณ์ไกล และปล่อยให้เรื่องราวมันหายเดือดก่อน
คำว่า Critical Thinking หรือ ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยมากในยุคนี้ แล้วความหมายมันคืออะไร? ทำไม อีลอน มัสก์ (Elon Musk) และ เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ถึงต้องพยายามฝึกฝนสกิลนี้อย่างหนัก? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
ทั้งอีลอนและเจฟฟ์ต่างเป็นเจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ของวงการเทคโนโลยีทั้งคู่ ถึงแม้พวกเขาจะเป็นคู่แข่งกัน แต่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีเหมือนกัน และยังเป็นคุณสมบัติที่ต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอีกด้วยนั่นก็คือ พวกเขามี ความหมกหมุ่นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาผลงานและผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาอยากพัฒนาสกิลการคิดเชิงวิพากษ์ เพราะมันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทั้งสองพัฒนาตัวเองและผลงานของตัวเองไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

Tesla CEO Elon Musk speaks during the unveiling of the new Tesla Model Y in Hawthorne, California on March 14, 2019. (Photo by Frederic J. BROWN / AFP)FREDERIC J. BROWN/AFP/Getty Images
‘การคิดเชิงวิพากษ์’ (Critical Thinking) คืออะไร?
การคิดเชิงวิพากษ์ คือ กระบวนการคิดทบทวนอย่างละเอียดรอบคอบและลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิดหรือหัวข้อใดๆ รวมถึงการคิดวิเคราะห์ ชั่งน้ำหนัก หาเหตุผล และเชื่อมโยงอย่างละเอียด ซึ่งการคิดเชิงวิพากษ์ต้องตั้งอยู่บนความคิดที่เป็นกลาง ความจริง และเหตุผลเป็นหลัก
แล้วทำไมบอสใหญ่แห่ง Tesla และ Amazon ถึงมองว่าการคิดวิพากษ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาล่ะ?
คำตอบคือ โดยปกติหากเป็นเรื่องของตนเอง ความสามารถของตนเอง หรือผลงานของตนเอง น้อยคนนักที่จะมองสิ่งเหล่านั้นได้อย่างเป็นกลาง เพราะยังไงเราก็รักตัวเราและค่อนข้างมองว่าเราในเวอร์ชันนี้ หรือผลงานของเราในตอนนี้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว และสิ่งนี้จะกลายเป็นม่านบัง ทำให้เรามองไม่เป็นข้อบกพร่องที่ซ่อนอยู่
การคิดเชิงวิพากษ์คือเชือกที่จะดึงเรากลับมาสู่ความเป็นจริงที่เป็นกลาง และช่วยให้เราเริ่มต้นวิเคราะห์สภาวะที่แท้จริงและข้อบกพร่องต่างๆ ได้ ซึ่งการมองเห็นข้อบกพร่อง และแก้ไขคือหนทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาไปอีกขั้น และหากเราทำเช่นนี้ได้เรื่อยๆ ก็จะพัฒนาไปได้ไม่มีสิ้นสุด และนั่นคือเหตุผลว่าทำไม บอสใหญ่ทั้ง 2 จึงพยายามฝึกฝนสกิลนี้อย่างหนักนั่นเอง
อีลอนเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ผมพยายามมองหาข้อบกพร่องอยู่เสมอ การที่จะพัฒนา Tesla ให้ดีขึ้น ผมต้องคิดวิเคราะห์และวิพากษ์อย่างหนัก เวลาที่ผมมองรถแต่ละคัน ผมจะได้มองเห็นข้อบกพร่องทุกอย่างที่รอการพัฒนาไปสู่ขั้นที่ดีกว่า”
เช่นเดียวกับเจฟฟ์ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ผมสังเกตเห็นว่าคนฉลาดที่สุดมักจะคิดทบทวนความเข้าใจในเรื่องต่างๆ และทบทวนปัญหาที่คิดว่าตัวเองแก้ไขได้แล้วอยู่เสมอ พวกเขาจะเปิดใจรับมุมมองใหม่ ข้อมูลใหม่ แนวคิดใหม่ หรือแม้กระทั่งข้อโต้แย้งที่ท้าทายแนวคิดของพวกเขาเสมอ”
จากคำพูดนี้ของเจฟทำให้เราตกตะกอนอีกคุณสมบัติหนึ่งของการคิดเชิงวิพากษ์ได้ คือ การยอมรับและเรียนรู้จากความเห็นที่เป็นขั้วตรงข้ามหรือขัดแย้งกับเรานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากใครอยากฝึกสกิลการคิดเชิงวิพากษ์แบบอีลอนกับเจฟฟ์ เรามีเคล็ดลับดีๆ 5 ข้อที่จะทำให้คุณกลายเป็นนักคิดสายวิพากษ์มาฝากกัน

ในคำวิจารณ์มีข้อเท็จจริงอะไรที่เราไม่เคยรู้หรือเปล่า?Jeff Bezos, chief executive officer of Amazon.com Inc.
Mike Kane | Bloomberg | Getty Images
Mike Kane | Bloomberg | Getty Images
1. อย่ารีบร้อน
องค์กรหลายๆ แห่งในปัจจุบันมักจะกระตุ้นให้พนักงาน “คิดเร็ว ทำเร็ว” แต่นั่นคือสิ่งที่ตรงข้ามกับการคิดเชิงวิพากษ์โดยสิ้นเชิง การคิดเชิงวิพากษ์ต้องใช้ ความอดทน ไปพร้อมกับความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งก็คือความเข้าใจในอารมณ์ของเรา ว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกอย่างไร และเกิดจากปัจจัยอะไร เช่น เรากำลังไม่พอใจเพื่อนร่วมงาน เพราะเขามีแนวคิดที่ขัดกับเรา แต่ถ้าเข้าใจตรงนี้เราก็จะหันกลับมามองได้ว่า เรากำลังเอาแต่ใจตนเองหรือเปล่า และหากเราอดทน ปล่อยให้อารมณ์ที่คุกกรุ่นผ่านไปก่อน เราจะหันกลับมามองได้ว่าความคิดของเขาที่ขัดกับเรามีประโยชน์ในการเปิดโอกาสให้เราทบทวนตัวเองในอีกมุมหรือไม่
การมีความอดทน และความฉลาดทางอารมณ์จะช่วยได้มากในการรับมือและการใช้ประโยชน์จากความเห็นที่ตรงข้ามกับเรา
และยังป้องกันไม่ให้เราปล่อยให้ตัวเองถูกอารมณ์ครอบงำจนเกิดการตัดใจที่ผิดพลาดนั่นเอง
2. ทบทวนความเห็นด้านลบ
แน่นอนว่าถ้ามีใครพูดถึงเรา งานเรา หรือแนวคิดเราในด้านลบ สิ่งแรกที่คนส่วนมากจะทำก็คือการโมโหไว้ก่อน พูดปกป้องตัวเอง และตั้งแง่อคติผู้พูดทันที แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่นักคิดเชิงวิพากษ์ควรทำ
ความเห็นเชิงลบเหมือนกับเพชรที่เพิ่งขุดจากเหมือง หน้าตาช่วงแรกอาจไม่น่าดูเพราะเปรอะเปื้อนขี้ดิน แต่พอขัดเกลาให้สะอาดแล้วก็จะกลายเป็นสิ่งมีค่าขึ้นมาทันที เช่นเดียวกับความคิดเห็นในแง่ลบ ถ้าเราทบทวนดีๆ อาจเห็นข้อบกพร่องของตัวเองที่เราเคยต่อต้านก็เป็นได้
ให้เวลาตัวเองสักวันสองวัน อย่าเพิ่งตอบโต้ รอให้อารมณ์สงบก่อน แล้วถามตัวเองว่า
- เราเรียนรู้อะไรจากคำวิจารณ์นี้ได้บ้าง?
- ในคำวิจารณ์มีข้อเท็จจริงอะไรที่เราไม่เคยรู้หรือเปล่า?
- ถ้าไม่มี แล้วเราจะเรียนรู้แนวคิดอะไรจากมุมมองของคนที่พูดกับเรา?
ถ้าไม่มี แล้วเราจะเรียนรู้แนวคิดอะไรจากมุมมองของคนที่พูดกับเรา?

3. จัดตาราง ให้เวลากับความคิด
การฝึกคิดเชิงวิพากษ์ไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะมองเห็นปัญหา และวิเคราะห์ให้ออก ไม่ได้ใช้เวลาแค่เพียง 5-10 นาที ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือจัดตารางเวลาของคุณเลย ว่าเวลานี้เราจะใช้เพื่อ ‘คิด’ ล้วนๆ เพื่อเตรียมจมดิ่งไปในกระบวนการคิดโดยปราศจากสิ่งรบกวน
ถ้าคิดไม่ออกว่าจะเริ่มยังไง ลองเริ่มตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ กับตัวเองตามนี้
การฝึกคิดเชิงวิพากษ์ไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะมองเห็นปัญหา และวิเคราะห์ให้ออก ไม่ได้ใช้เวลาแค่เพียง 5-10 นาที ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือจัดตารางเวลาของคุณเลย ว่าเวลานี้เราจะใช้เพื่อ ‘คิด’ ล้วนๆ เพื่อเตรียมจมดิ่งไปในกระบวนการคิดโดยปราศจากสิ่งรบกวน
ถ้าคิดไม่ออกว่าจะเริ่มยังไง ลองเริ่มตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ กับตัวเองตามนี้
- ข้อสันนิษฐานของเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง?
- ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง?
- ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง?
- ปัญหาที่ซ่อนอยู่คืออะไร?
- ปัญหาที่เห็นชัดและเป็นปัญหาหลักคืออะไร?
- ข้อดีข้อเสียของทางแก้ที่เราเลือกใช้คืออะไร?
- ทางแก้ที่ดีที่สุดคือะไร?
บางครั้งเราอาจจะรวมหัว ตั้งวงกันคิดกับเพื่อนๆ รอบตัวด้วยได้ แต่ส่วนมากแล้วการคิดทบทวนอย่างสงบคนเดียวจะดีกว่า คุณจะได้เข้าใจความคิดของตัวเองอย่างทะลุปรุโปร่ง แล้วค่อยเอาไปคุยกับเพื่อนร่วมงานทีหลังก็ยังไม่สาย
4. มองการณ์ไกล
หนึ่งในอุปสรรคหลักที่ขัดขวางการคิดเชิงวิพากษ์คือการมองสั้นเกินไปและไม่เตรียมการล่วงหน้า ฉะนั้นลองหันมาตั้งหลักทบทวนให้ชัดว่า ถ้าตัดสินใจเช่นนี้ จะเกิดผลอะไรตามมาบ้างในเดือนหน้า ปีหน้า หรืออีกสัก 5 ปีข้างหน้า การมองการณ์ไกลจะทำให้เราเห็นภาพกว้าง และปรับการตัดสินใจให้เข้ากับผลลัพธ์ในระยะยาวได้
5. ปล่อยให้เรื่องหายเดือดก่อน
เวลาที่เราต้องแก้ปัญหาที่ยากๆ หรือต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ หนึ่งในเคล็ดลับที่หลายคนแนะนำคือการเดินออกมาก่อน ให้เวลากับทุกอย่างเย็นลงแล้วค่อยตัดสินใจ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป อคติและอารมณ์จะจางหาย แล้วคุณจะตัดสินใจจากพื้นฐานความจริงได้ง่ายขึ้น
การรอเวลาไม่ใช่การหนีปัญหา คุณสามารถตั้งเวลาก็ได้ว่า จะให้เวลาตัวเองกี่วัน แต่หนึ่งในเคล็ดลับสำคัญ หรือจะมองเป็นคำเตือนก็ได้คือ ไม่ว่าคุณจะให้เวลาตัวเองนานแค่ไหน อย่าตัดสินใจอะไรในช่วงกลางดึกก่อนนอน
ลองมองย้อนกลับไปเวลาที่คุณเจอเรื่องเครียด หรือเรื่องเศร้า เวลาที่ปัญหาดูย่ำแย่และยากลำบากที่สุดคือเวลาก่อนนอนเสมอ ปัญหาเล็กๆ ก็อาจดูใหญ่จนเหมือนโลกจะพังทลาย นั่นเพราะว่าเวลากลางคืนจะเป็นเวลาที่อารมณ์เราเข้มข้น และเหตุผลเราเจือจางที่สุด แต่พอตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ หลายคนมักพบว่า ปัญหาของเมื่อวานก็ไม่ได้ใหญ่อย่างที่คิด
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะทำอาชีพอะไร จะอยู่ในช่วงวัยไหน เราเชื่อว่าการคิดวิพากษ์จะมีประโยชน์ต่อชีวิตในทุกแง่มุมของคุณ ทั้งชีวิตการทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มันจะส่งให้คุณพัฒนาทุกด้านไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ลองทำตาม 5 เคล็ดลับนี้ดู ค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่ง Critical Thinking ก็จะกลายเป็นวิธีคิดโดยอัตโนมัติของคุณไปโดยปริยาย SHiFT Your Future เอาใจช่วยทุกคนอยู่
ที่มา
https://www.inc.com/justin-bariso/intelligent-minds-like-elon-musk-jeff-bezos-seek-to-master-this-crucial-skill-heres-how-you-can-do-it-too.html
https://www.inc.com/jessica-stillman/this-is-number-1-sign-of-high-intelligence-according-to-jeff-bezos.html
https://www.youtube.com/watch?v=qd4-GdU490M
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture